วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

บทที่ 6
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

ที่มา :https://www.value.co.th/th/service/articles/Cloud_computing2.jpg
1. บทนำ

     บทบาทที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราไม่ว่าที่ทำ งานหรือบ้าน ในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่า ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และความสามารถในการส่งหรือการสื่อสารข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยวิวัฒนาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่นรายการจากข่าวโทรทัศน์ จะเห็นได้ว่าการสื่อสารที่นำข่าวจากจุดต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน สามารถสื่อสารโต้ตอบและส่งภาพถึงกันได้แม้ว่าจะอยู่คนละสถานที่ที่ห่างไกล กันมาก หรือการส่งข่าวสารในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อความ ภาพ เสียง ไปให้ผู้อื่นได้ และสื่อสารโต้ตอบกันได้ในเวลาปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบเครือข่ายสื่อสารที่เป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ ระบบ อินเตอร์เน็ต(Internet) ในปัจจุบันภาครัฐและเอกชน เอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ (Make-decision) โดยการตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญและต้องตัดสินใจอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปมาก นอกจากจะใช้ดำเนินการแล้ว ยังนำมาใช้ในการจัดการด้านธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจทางธนาคาร, การประกันภัย, การท่องเที่ยว, โรงงาน, โรงแรม, โรงพยาบาล, ระบบการศึกษา เป็นต้น
     ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่าง มากในการดำเนินงานและการตัดสินใจของคนในสังคม ปัจจุบันจึงเรียกว่า สังคมสารสนเทศซึ่งหมายถึงการที่สารสนเทศกลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงหน่วยต่างๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างสังคมขับเคลื่อนด้วยสารสนเทศ จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ทราบว่าหมายถึงอะไร ประกอบด้วยอะไร มีบทบาทและความสำคัญหรือความจำเป็นอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต

2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และ กระบวนการหลายด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM)เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย

  2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำและทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบ คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นระบบ ประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคภายนอกมาก ติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัติ เป็นต้น

  2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือ ขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้โต้ตอบตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ตลอดเวลา โดยอาศัยประสบการณ์วิจารณญาณ และความสามารถของผู้บริหารเอง โดยอาจจะใช้การจำลองแบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยไม่ต้องเสี่ยงกระทำในสภาพจริง
ที่มา :http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/pictures25/l25-122.jpg

3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
     เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วจะเป็นการยากอย่างยิ่งในการ สื่อสารสารสนเทศทั้งนี้เพราะในภาวะปัจจุบันมีสารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสารอย่างล้นเหลือ(Publication Explosion) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “INFORMATION EXPLOSION” ประกอบกับสภาพวะเงินเฟ้อ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ใช้สารสนเทศที่ตื่นตัว และมีความต้องการสารสนเทศทั้งในแง่ของความรวดเร็วและความถูกต้อง จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
- เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
- สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
- อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กรมีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
- ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


ที่มา : http://www.onlinesoft.co.th/FileSystem/Image/www.onlinesoft.co.th/20111229/Main_Program.jpg

4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
     การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
  4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานจะเห็น แล้วว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน แม้ในสำนักงานก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล ในประเด็นนี้ผู้บริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคโนโลยีนั้นๆ ต้องเข้าใจว่าจะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้อะไรได้ใช้แล้วจะได้รับประโยชน์อะไร บ้างจะเกิดผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร
  4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวงกรมหรือบริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผน กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น หากไม่ได้วางแผนละควบคุมให้ดีกลับไปเลือกใช้เทคโนโลยีผิดแล้วจะเกิดความเสีย หายได้มากนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินลงทุนไปโดยใช่เหตุแล้ว ยังเสียเวลา
  4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่อง มาตรฐานทางด้านตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นแบบที่ทำให้เครื่องและอุปกรณ์ทั้งหลายทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานทางด้านซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดว่าทั้งองค์กรจะต้องใช้ซอฟต์แวร์แบบไหน บ้างจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อะไร จะใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล มาตรฐานข้อมูลและรหัสข้อมูลแบบไหน หรือใช้โปรแกรมสำเร็จอะไร การใช้ซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้หน่วยงานทำงานได้สะดวกขึ้นไม่ สิ้นเปลืองทรัพยากร
  4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใดนี่เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ ได้ชัดเจน และทำให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหากับ ผู้บริหารองค์กรเพราะผู้บริหารองค์กรไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องลงทุนทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศไปมากนัก หรือเหตุใดลงทุนไปแล้วสามารถไม่ได้ผลตอบแทนเท่าที่ควร
  4.5 การจัดองค์กร เมื่อมีแผนงานและงบประมาณสำหรับดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วต่อไปก็ จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานให้เข้ม แข็งมากขึ้นโดยคำนึงถึง
             - หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
             - บุคลากรที่เหมาะ
             - ผลตอบแทนต่อบุคลากร
  4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบนั้นเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างดีและต้องมีหัวหน้าโครงการที่มี ความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการสื่อสารทั้งด้วยวาจาและเป็นเอกสาร
  4.7 การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือพยายามทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ และขณะเดียวกันก็สามารถทำงานให้ตัวเองได้ภายในกฏเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของ หน่วยงาน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด
  4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูล การที่แผนกต่างๆ ต้องพยามยามจัดเก็บข้อมูลมาใช้เอง ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้นต้องหาทางประสานงานให้ผู้ใช้ทุกหน่วยงานแบ่งปันข้อมูลกัน
  4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ การนำเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้นเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกทำ งานร่วมกับเราได้ ถ้าหากบุคคลภายนอกเหล่านี้ทำงานตรงไปตรงมาเราก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่บุคคลภายนอกบางคนอาจจะมีความประสงค์ร้าย คืออาจจะต้องการโจรกรรมข้อมูลของหน่วยงานไปใช้ หรือต้องการทำลายข้อมูลที่เราบันทึกเก็บไว้
  4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร เราต้องพยายามสร้างผลงานที่ผู้บริหารเห็นแล้วประทับใจต้องพยามยามชี้ว่าการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นคุ้มค่าเงินลงทุนและทำให้การทำงานโดยรวมมี ประสิทธิภาพ
  4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้อาจเป็นเพียงงานขนาดเล็กที่ทำเพื่อให้เข้าใจผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เมื่อบริษัทไมโครซอฟต์นำระบบ Windows 95ออกจำหน่าย ก็ต้องศึกษาวิจัยว่าซอฟต์แวร์นี้มีฟังก์ชันอะไรบ้าง แตกต่างจากระบบ Windows อื่นอย่างไรต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะมากขนาดไหน สมควรที่จะซื้อหามาใช้หรือไม่
ที่มา :http://www.prosoft.co.th/images/image/product/De40.jpg

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   
     การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้โดยเฉพาะในสภาพ สังคมปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
  5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่ หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและสามารถจัดพิมพ์ฉบับซ้ำได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
  5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้านผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยเพื่อพัฒนาและมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติการของเครื่องจักร ในโรงงาน
  5.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบัน การเงิน เช่น ธนาคารได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วย ปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้
  5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น
  5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ได้แก่
- ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือ เวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน มีลักษณะแบบจุลภาคแต่สามารถขยายเป็นระดับมหภาคได้ เมื่อโรงพยาบาลทั่วประเทศแลกเปลี่ยน และส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมเป็นโทรเวชกลายๆได้
- ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน แพทย์และสาธารณสุขอำเภออาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็ก เท่าไรเพื่อจะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที ระบบทำนองนี้อาจขยายไปสู่ ระดับอำเภอและจังหวัด
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค และเริ่มผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์หลักการที่ใช้ คือ เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial intelligence :AI มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำคอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน ระบบนี้น่าจะช่วยอนามัยตำบลในการวินิจฉัยโรคได้
  5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา นั้น มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาข้ออธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่
- การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH)
- เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครู อาจารย์และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มี อยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
- การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่งได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการในลักษณะเครือข่าย
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์ อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลองซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษาการเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู
ที่มา :http://www.it24hrs.com/wp-content/uploads/2011/11/webapp.jpg

6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)
6.1 ความหมาย
     ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะเชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดย มีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆอย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail, msn, instant messaging, web, blogและ wiki สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software
     ซอฟต์แวร์สังคมมีจุดกำเนิดมาจากการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมเมอร์และกลุ่ม คนทางสังคมที่ให้ความสนใจในประเด็นที่ต่างออกไปจากซอฟต์แวร์โดยทั่วไป เช่น โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมบัญชี โปรแกรมการลงทะเบียน เป็นต้น
6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
     เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสารและเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Webboard , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN เป็นต้น
2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์เพื่อการจัดการความรู้ มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น
6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
1) Blog
     Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น การเขียนเรื่องราวของตนเอง การเขียนวิจารณ์เรื่องราวหรือหัวข้อหรือสิ่งที่ตนเองสนใจต่างๆ
     จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบcomment ของบล็อกนั่นเอง ความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังมีการ comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันได้อีกด้วย บางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เพราะบางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อนอีกด้วย
2) Internet Forum
     Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปราย หรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ bulletin board และnewsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำประเด็นที่เป็นที่นิยมของ ฟอรั่มทั่วไปมี เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง เป็นต้น
3) Wiki
     Wiki อ่านออกเสียง “wicky”, “weekee” หรือ “veekee” เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบ ราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ มีเครื่องมือที่ใช้ทำWiki หลายอย่าง
4) Instant Messaging
     เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น
5) Social network services
     Social network services จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้ สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ก็อาจจะโพสข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ เพศ เบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก ตัวอย่างเช่น iKarma, ArtBoom, Orkut, Friendster,Linkedin, openBC, Facebook, Twitter เป็นต้น
6) Social guides
     เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น CafeSpot, Tagzania และ WikiTravel เป็นต้น
7) Social bookmarking
     บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites ) ลงไปได้เพื่อแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น
8) Social Citations
     มีลักษณะคล้าย social bookmarking มาก แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษา โดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรร ตัวอย่างเช่น CiteUlink เป็นต้น
9) Social Shopping Applications
     มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้า ดูรายการสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น SwagRoll,Kaboodle , thethingsiwant.com และ Yahoo! Shoposphere
10) Internet Relay Chat
     Internet Relay Chat หรือ IRC จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง chat rooms ซึ่งอาจมีหลายๆคนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้วก็ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ อาจพิมพ์ข้อความลงไปแล้วให้คนทั้งห้องอ่านได้ ซึ่งผู้ใช้ในห้องแต่ละห้องอาจจะมีการเข้าไปใช้งานและออกจากห้องสนทนาอยู่ ตลอด
11) Knowledge Unifying Initiator (KUI)
     Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อๆ ว่า KUI หรือ “คุย” ในภาษาไทยหมายถึงการสนทนา โดยคำว่า Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledgeanagement) เนื่องจากภายในโปรแกรม KUI ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักดังนี้
- Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์
- Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น
- Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย
6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
     ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Socialcomputing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกใน สังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับ ภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตน ด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นในการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อสังคมจึงเน้นให้เป็นความเป็นปัจเจก (individual) ของบุคคลไว้ การให้โอกาสปัจเจกบุคคลสามารถแสดงออกสู่สาธารณะโดยมีกระบวนการที่สนับสนุน ให้มีการตอบสนองจากสังคมอย่างเท่าเทียมเป็นปารถนาสูงสุดของการประมวลทาง สังคม
     อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดีพึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคล ในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุดดังนั้น การสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใด ๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิปัจเจก (Individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
 ที่มา :http://songkhlatoday.com/upload/pics/pic5073a5d98152d.jpg

7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต
     อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine)
7.1 ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ
  1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ
  2) การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword)ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยใน การทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือRobot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ นามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย
  3) การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะผ่านเลยคำ ประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
7.2 เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
     โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่างแพร่หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมีจำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่ เครื่องมือประเภทนี้เป็นนิยามที่แคบของคำว่า search engines (นิยามที่กว้างของ search engines คือ เครื่องมือช่วยค้นทุกวิธีที่มีให้บริการในอินเตอร์เน็ต)
     ตัวอย่างเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ Lycos (http://www.lycos.com) Asks (http://www.asks.com) Hotbot (http://www.hotbot.com) Google (http://www.google.com) ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมสูงสุด Google มีพัฒนาการคล้ายคลึงกับ Yahoo
1) การสืบค้นข้อมูล
     ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการ ซึ่งผลการค้นคืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมากดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือ เตรียมกลยุทธ์การสืบค้น และ การศึกษาลักษณะการสืบค้นของ Google จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปการสืบค้นด้วย Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่เปิดสอนด้าน Management Information Systems หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในประเทศไทยเป็นภาษาไทย ขั้นแรกคือหากใช้คำว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ” คำเดียว จะได้ข้อมูลออกมากว้างขวางเกินความต้องการต้องจำกัดด้วยการเพิ่มแง่มุมเฉพาะ เช่น หลักสูตร ซึ่งซอฟแวร์จะนำไปบวกกับคำว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ” ผู้ใช้จะได้ผลการสืบค้นที่เฉพาะตรงต่อความต้องการมาก
2) ลักษณะการสืบค้นของ Google
- ไม่จำเป็นต้องใส่ตัวเชื่อม and (และ) ระหว่างคำโดย Google จะเชื่อมคำอัตโนมัติ
- หาข้อมูลเพิ่มให้ เมื่อใช้ตัวเชื่อม OR (หรอื ) ตัวพิมพ์ใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london ORParis คือหาทั้งใน London และ Paris
- Google จะละคำทั่วๆ ไป (เช่น the, to, of, how, where) และตัวอักษรเดี่ยวเพราะจะทำให้ค้นช้าลงถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ต้องเว้น วรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้นเช่น computer
programming +I

ที่มา : http://www.cronicadeiasi.ro/pictures/images/browsere.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น