วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ



บทที่ 5
การจัดการสารสนเทศ
 
                          ที่มา : http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/369/352/original_equipment.jpg
1. ความหมายของการจัดการสารสนเทศ
                การจัดการสารสนเทศ  หมายถึง  การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่สารสนเทศโดยจักให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ  
 

2. ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ

    การจัดการสารสนเทศในสภาวะที่สังคมมีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมาย ในลักษณะสารสนเทศท่วมท้นการจัดการสารสนเทศ โดยจัดเป็นระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการเป็นความจำเป็นและมีความ สำคัญทั้งต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการ
ทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล
รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
บุคคลย่อมต้อง การสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข อาทิ ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแล อาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จึงจำเป็นต้องคัดกรองสารสนเทศที่มีอยู่มากมายจากหลายแหล่งเพื่อจัดเก็บ จัดทำระบบ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วความสำคัญในด้านการศึกษา

2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้

                                ที่มา : http://www.vcharkarn.com/uploads/219/219643.jpg

 
       1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้
สภาวะที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหาการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่
       2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะเป็นทั้งการเพิ่ม ประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแส งานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก
       3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับ
กฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่าง ต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย
 3.  พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ
                การจัดการสารสนเทศก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำมาเป็นระยะเวลายาวนานนับ ตั้งแต่รู้จักการค้นพบการขีดเขียน บันทึกข้อมูล  การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป แบ่งออกอย่างกว้างๆได้เป็น 2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
                               ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjZ8O_Eoo1rdSQSZ60Fpg15rgWzapschBmfEbOFCwiZCGJE8I95ATVWC1TbKpU5kqKqJ0XHAsbdO-GcHWqY6JmFXdLPDqg_DUaqRb5O4478Fz26AOAASVXlXV_XUKzaU2oAj_5L-T27_xam/s320/images+(1).jpg

4. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
                การจัดการสารสนเทศในอดีตมักมุ่งที่การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการเรียกใช่อย่าง ง่าย เป็นการจัดเก็บจัดเรียงตามประเภทสื่อที่ใช้บันทึก หรือตามขนาดใหญ่เล็กของเอกสารรูปเล่มหนังสือ เป็นต้น และต่อมา เมื่อสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น มีหลายรูปแบบ การใช้ประโยชน์ในหลายวงการ ทั้งวงการธุรกิจ ภาครัฐ วิชาการและวิชาชีพต่างๆ ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การจัดการสารสนเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การจัดการสารสนเทศเป็นทั้งการจัดการการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และการค้นหาเพื่อใช้ได้อย่างสะดวก มีระบบที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 
              ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7Hmk0QtOIAW3kVRxK-MGeDDF7PZHmCbDtxRsnscSs_5seecAJdhd5YlWiacDoNk58WjXAkWGViFAsIPJ4bOohiDI3-Joe6D-VHJnTB4JbCRVvegCGyVSkmBvhFqdcmBdIASTXDFBuTjkP/s1600/MagicRMS-Pro-16-0.jpg

5. การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

                         ความต้องการที่จะปรับปรุงการจัดการสารสนเทศเป็นที่สนใจในหลายๆ องค์กร โดยอาจถูกผลักดันจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่วางไว้ รวมถึงความต้องการที่จะเปิดใช้บริการใหม่ๆ ในหลายกรณีการจัดการสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในเชิงเทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศ ประกอบด้วยระบบต่างๆ (ศักดา, 2550) ดังต่อไปนี้

· การ จัดการ เนื้อหาใน เว็บไซต์ (web content management - CM)
· การจัดการเอกสาร (document management - DM)
· การจัดการด้านการจัดเก็บบันทึก (records management - RM)
· โปรแกรมจัดการทรัพย์สินดิจิทัล (digital asset management - DAM)
· ระบบการจัดการเรียนการสอน (learning management systems - LM)
· ระบบการจัดเนื้อหาการสอน (learning content management systems - LCM)
· ความร่วมมือ (collaboration )
· การค้นคืนสารสนเทศในองค์กร ( enterprise search)
· และอื่นๆ
 
ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiEZq26YKWJVIlgBiQEzGaIuSoeVExvdHULRc3-uUOZR6jzfn5W4K1TgwIDSaejm6UwZimhsjtfNtciJ0a2JCHh9n9F3kX1Ubc8gMyFuaGuE8w46I7gAnJx8TtpP85dtf7T9Vmib4Qi9fA/s1600/ICT+Logo2.jpg 
 

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4เทคโนโลยีสารสนเทศ


บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่มา : http://siriwannoochoo.files.wordpress.com/2011/07/images9.jpg

1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

                พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์
และมัลติมีเดีย กอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์ นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่าฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียก กันว่าซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, 4)

          ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgW9GkkFtGXSBC3y3tqe9LFn48NgQjYYTuyt0BTUQy4I1JiAamAi5XnZs7ydt5mq31v_L1LvuIENuzpbqMjmFkdLU9mU-hWET-wyJJMAU3yZQSKtvSNAwuVhN9y5NfrJjxPTCnW9WFn/s1600/computersystem.jpg
1) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 
- อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจ
กวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่าน
บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
- อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
- หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดย
ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
- หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และ
ผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
- หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต
 

 ที่มา:https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhvOfxaF52rlNLRfCe3ARKxYtl9azCcMg1-F-a1Ufq6sRNu5j0rSgFcX4xg-n5kQwVBqBVPxIlLd3U_zYShSJE8QJzIdQgbdjA3NmNp-Ikx4j3nUMWWiS-kM3JieB2hikxlkXurFg3pcyU/s1600/software.jpg
2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่อง

คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำ�งานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, MicrosoftWindows
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผล
ข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
- โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบ
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์
นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่เจาะจง
ประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์
ของการนำไปใช้
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจาก
ซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management
และซอฟต์แวร์เกมต่างๆ เป็นต้น


สำหรับกระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูก
ต้อง แม่นยำและมีคุณภาพ จะเริ่มด้วยการคัดเลือก การจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศซึ่งกระบวนการจัดการหรือจัดทำสารสนเทศเพื่อให้สามารถ ผลิตสารสนเทศสนองความต้องการของผู้ใช้ได้นั้น จะประกอบด้วยกรรมวิธี 3 ประการ คือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลและกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกัน

               ที่มา : http://engineer.utcc.ac.th/electronics/images/stories/Globe.jpg
1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้ง
ชนิดมีสายและไร้ สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ล ใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น

สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของ
ข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/
Decoder)

 
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อ
ไปนี้ คือ
1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์,
เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก,
จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6) เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุ
กระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้าง สิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม
                        2. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่มา : http://beewan408.files.wordpress.com/2010/11/resize_of_communication1.gif

                    การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะหมายรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารรายละเอียด ของวิวัฒนาการของแต่ละเทคโนโลยี
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณ
เป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบ
คอมพิวเตอร์ใช้ ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า “สัญญาณดิจิตอล”ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “โมเด็ม” (Modem)
 


วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ
ที่มา: http://www.ttp.ac.th/kru%20fon/images/sampledata/Techno/e0b882e0b989e0b8ade0b8a1e0b8b9e0b8a5.jpg
  ความหมาย
 
            ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งสารสนเทศ บุคคลในสังคมจำเป็นต้องรับข้อมูลข่าวสารอย่างท่วมท้น บุคคลทุกคนจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง คนในสังคมปัจจุบันจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อการเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย สังคมปัจจุบันจึงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การศึกษาต้องมุ่งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้ของบุคคล และพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่บุคคลในสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ในสังคมได้อย่างยั่งยืน นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า การรู้สารสนเทศครอบคลุม การมีพฤติกรรมเข้าถึงสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีความคิดและจริยธรรม โดยผ่านช่องทางหรือสื่อใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศตามความต้องการ (SUNY Council of Library Directors Information Literacy Innitiative, 2003) ซึ่งสรุปได้ว่า การรู้สารสนเทศ หมายถึงการรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
               ดังนั้นการรู้สารสนเทศของบุคคล จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลก และนำสารสนเทศออกเป็นความรู้ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ของทุกคนอย่างแท้จริง

ความเป็นมา
         จากวรรณคดีและงานวิจัยจากองค์กรและสถาบันต่างๆ สามารถจำแนกทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 ได้เป็น 4 ลักษณะคือ 1. ทักษะสารสนเทศและการสื่อสาร 2. ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 3. ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง 4. การรับผิดชอบต่อสังคม จากทักษะการเรียนรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับการเรียนรู้ในทศวรรษนี้
        การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) เป็นคำที่พบในบริบทต่างๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษ ซึ่งในประเทศอังกฤษนั้นได้ใช้คำว่า ทักษะสารสนเทศ การเรียนรู้สารสนเทศหรือทักษะสารสนเทศเกิดขึ้นในราวต้นคริสต์ศักราช 1974 และได้ใช้คำทั้งสองรวมกันและบางครั้งได้ใช้ในความหมายเดียวกัน  หากยุคศตวรรษที่ 21 นี้การรู้สารสนเทศนี้มิได้ถูกจำกัดให้อยู่ในรูปแบบของสื่อดังกล่าวเท่านั้น สารสนเทศได้ถูกขยายขอบเขตไปยังสื่อที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ซีดีรอม ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น ทำให้ความสามารถในการรู้สารสนเทศต้องผสมผสานทักษะด้านการค้นคว้า
        นอก จากนี้ยังมีการนำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การรู้สื่อ เป้นความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ประเมิน และสื่อสาร ในรูปแบบที่มีความหลากหลายของสื่อคอมพิวเตอร์
       การ รู้สารสนเทศจึงเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของบุคคล การรู้สารสนเทศต้องอาศัยความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างคุณลักษณะให้บุคคลเป็นผู้มี ความรู้ มีความคิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านสารสนเทศและช่วยให้บุคคลเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
 โดยต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
1.ความ สามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพและสติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ สามารถระบุแหล่งสื่อค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคดสรร วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร กับฐานข้อมูลทั่วไป
2. ความ สามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความ สามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ
3.ความสามารถในการใช้สารสนเทศ รวมถึงมรรยาทในการใช้สารสนเทศและประสิทธิภาพในการจัดการสารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
       SUNY Council of Library Information Literacy Initiative (2003) ได้เสนอคุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
1.ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
2.สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
3.เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
5.นำสารสนเทศที่คดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
6.มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
7.เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมและกฎหมายในการใช้สารสนเทศ
8.เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
9.แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
10.ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
      American Association of School Librarians &Association for Educational Communications and Technology (2004) ได้เสนอมาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศไว้ 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วย มาตรฐานที่1-3 การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ 4-6 และความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่7-8 ดังต่อไปนี้
มาตรฐาน ที่
1.ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
2.ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และมีความสามารถ
3.ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
4.ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องความสนใจส่วนตัวได้
5.ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ
6.ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
7.ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรุ้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
8.ผู้ เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    
แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
 ที่มา: https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTPkYS0BEbwWBqiK8JnkCIRmZaXAuqcc_G4TGgqaOp8UVG7mqCAOg
        
โดยมี6ขั้นตอน ได้แก่
1.การกำหนด ภาระงาน เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
2.การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ เป็นการกำหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ
3.การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นการระบุที่อยู่ของสารสนเทศ
4.การใช้สารสนเทศเป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการและคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
5.ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆและนำเสนอสารสนเทศ
6.ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆและนำเสนอสารสนเทศ
       สำหรับสังคมไทยมีพื้นฐานจาก The big 6 Skills Model ดังกล่าวข้างต้นมี4ขั้นตอน
1.กำหนดภารกิจคือต้องการรู้อะไรปัญหาหรือข้อสงสัยคืออะไร
2.ตรงจุดเข้าถึงแหล่งคือการเข้าหาคำตอบว่าอยู่ที่ไหน มีวิธีเข้าถึงและการใช้แหล่งความรู้ได้อย่างไร
3.ประเมินสารสนเทศ คือ การคัดสรรสารสนเทศอย่างไรให้ตรงกับจุดที่ต้องการรู้ และน่าเชื่อถือ
4.บูรณาการวิธีการใช้งาน คือ การมีวีการใด ใช้ในการนำสิ่งที่ค้นพบมาสรุป นำเสนอและสื่อสารกับผู้อื่น
  ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
 ที่มา: http://707050krongkan.files.wordpress.com/2011/07/3-vi.jpg
          จากผลการวิจัยพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยพบว่ารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ 4 ขั้นตอนคือ กำหนดภารกิจ ตรงจุด เข้าถึงแหล่ง ประเมินสารสนเทศ และบูรณาการวิถีการใช้งาน ได้ถูกนำไปใช้ และพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะ สมกับธรรมชาติและบริบทของแต่ละท้องถิ่น
        ดัง นั้น การศึกษานอกโรงเรียนจึงต้องเน้นกระบวนการพิจารณาคุณค่าของการรู้สารสนเทศ เพื่อเป็นแกนการเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆในบริบทของชีวิตแต่ละบุคคล การศึกษานอกโรงเรียนต้องมุ่งให้บุคคลรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม
 ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgR2yiShn4j_SGNpYESuF74mnzSWoEaHYxFcatYO-40qknfte98KQgxa-shcQZndjO46T2-dzjdXpGCEQkfzOeR8oZBtUPOFDHRQZFhwcadGQkQ6HbbnNnlOx7V7wPz9pSQ6kGAA1EmQQdG/s1600/14878it_2.jpg
 
 
1. บทนำ
       ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) มกีารนำาทรพัยากรสารสนเทศมาใชง้านอยา่งกวา้งขวาง ทำาใหเ้กดิการเปลยี่นแปลง กระบวนการดาำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ทุกองค์กรนำากลไกการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ มีการนำาเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสาร และใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ
 
2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
       ใน ภาวะปัจจุบันนั้นสารสรเทศได้กลายเป็นปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และการบริการ เป็นต้น
                 เทคโนโลยีสารสนเทศมีใช้ในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน เรามีการใช้โทรศัพท์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2414 เพียงแต่ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ยังไม่แพร่กระจายทั่วประเทศ
               ฉะนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงครอบคลุมถึงหลาย ๆ เทคโนโลยีหลัก อันได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั้ง ฮารืดแวร์ ซอฟแวร์ และฐานข้อมูล เทคโนโลยีระบบสื่อสารมวลชน ทั้งระบบแบมีสายและไร้สาย นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ ต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว คุรสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรภาพในเกือบทุก ๆ กิจกรรม เช่น
    1. การลมต้นทุนหรือค่าใช่จ่าย
    2, การเพิ่มคุณภาพของงาน
    3. การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีอื่น ๆ
    4. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ขึ้น
               ผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยี  ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลาย ๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่่มนี้ จากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้
                      1 ราคาของฮาร์แวร์และอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ สำหรับการเก็บ การประมวลผล และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ มีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
                      2. ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีการพัฒนาการย่อของชิ้นส่วน และพัฒนาการสื่อสารระบบไร้สาย
                      3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้วามสำคัยต่อเทคโนโลยีมาก  ศักยภาพของเทคโนโลยี 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ  เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ   ผลกระทบที่สำคัญมี 5 ประเด็น ได้แก่
                     1. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
                     2. การปรับปรุงกระบวนการผลิตภัณฑ์และบริการ
                     3. การยอมรับจากสังคม
                     4. การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค / สาขาอื่น ๆ
                     5. การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุก ๆ ประเด็น
 
                                  ที่มา : http://zthewithoutlove.files.wordpress.com/2012/07/original_school-ict-1.jpg



3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
               แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐานในกรบริหารประเทศและในการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างมีประสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
               เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อม ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทศโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีและการสื่อสารใน อดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมากในอนาคตรกจิบันเทิงจะเป็นอีกประเภท หนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลสูงกับแนวคิดความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงและยอมรับว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมนั้นและถ่ายทอดความคิดระหว่างบุคคลนั้น


 ที่มา:http://thepeculiarja.files.wordpress.com/2012/07/e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8b7e0b988e0b8ade0b8aae0b8b2e0b8a31.jpg

4.สารสนเทศกับบุคคล
                 การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความรู้และความเข้าใจใน เรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วทันเวลา

                          ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjrUtz7V7u6ZpP-LfRw3pTR2JyTjsccogOWXeXP0uJHIKD8R9TmTSUsnqWFL6iSUz94w8iD6pFUv8RDQFEcHL5AZmgL6_gm6SEeN4Oew-EpiIDfaZQnmDHX6Qm5oyWB2nasSn3T_2IphD4g/s320/banner.jpg

5.สารสนเทศกับสังคม

5.1ด้านการศึกษา
                 การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ้ง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอน ทุกระดับการศึกษาเพิ่มให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อศึกษาค้น คว้าองค์ความรู้ใหม่ๆๆ
                        ที่มา: http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/820/742/large_large_002.jpg?1342680541





 
5.2ด้านสังคม
                 สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคคลให้อยู่กับส่วนร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและสารสนเทศ ช่วยให้ตัดสินใจเร็วขึ้นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการประกอบอาชีพแก้ไขปัญหาชีวิต ได้สารสนเทศช่วยขยายโลกได้รับรู้กว้างขวางมากขึ้นช่วยลดการขัดแย้งทำให้อยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุขได้



 ที่มา : https://sites.google.com/site/kroonom/khx-m/it.jpg?attredirects=0

 
5.3ด้านเศรษฐกิจ
                สารสนเทศสำคัญกับการขับเคลื่อน เศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือว่าเป็นทุนการผลิตที่ สำคัญในการแข่งขันเพราะสารสนเทศช่วยให้ประหยัดเวลาในการผลิตลดขั้นตอนลองผิด ลองลองถูกพัฒนาภัณฑ์ใหม่ๆได้ตามความต้องการตลาด
               ที่มา : http://krukengsmedu3.files.wordpress.com/2012/06/original_intrane3.gif



5.4ด้านวัฒนธรรม
                สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับ ความก้าวหน้าขององค์กรของอารยธรรมสารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ

 ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj0CmpXwz6K_abFnkPHQNm2nDvGiZQWxrOEc2Eoq82ivshBRaBOGo-IXgx137-bFSMhWQ082ZC2mtAvx08kNnj_9e19p2wXyj13F12yiLfsKe3Nf4N6kBOVuQf4k0WXAtbHXPTulWwjO-8n/s1600/13325602891332560714l4.jpg


6.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา

         สารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนเน้นในการศึกษา โดยเน้นพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคา ถูกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนจะอาศัยแหล่งความรู้และสารสนเทศจาก ทั่วโลกซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความจำ เป็นต่อทุกคน การพัฒนาตนเองนำไปสู่การพัฒนาการงานพัฒนาอาชีพและการพัฒนาให้ดีขึ้นและความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นแหล่งความรู้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนา

 ที่มา : http://www.thaihowabout.com/wp-content/uploads/2012/11/Software.jpg